การแต่งงานแบบคลุมถุงชนของอินเดีย

การแต่งงานแบบคลุมถุงชนของอินเดีย การแต่งงานแบบ ‘ คลุมถุงชน ’ ยังถือเป็นเรื่องปกติในสังคมอินเดีย มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรอินเดียเลือกที่จะแต่งงานแบบคลุมถุงชนมากกว่าการแต่งงานจากความรัก เนื่องจากการแต่งงานไม่ได้เป็นเพียงเรื่องราวของคนสองคน แต่มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นศาสนา วรรณะ ฐานะทางสังคม และความพึงพอใจของทั้งสองครอบครัว

การเลือกคู่ครองนั้นมีหลายขั้นตอนและมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการประกาศหาคู่ทางอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ การจัดหาของพ่อแม่ หรือแม้กระทั่งเลือกผ่าน นายหน้าจัดหาคู่ (matchmaker) โดยการเลือกผ่านนายหน้าจัดหาคู่นั้นค่อนข้างจะเป็นที่นิยมเนื่องจากมีข้อมูลของหญิงโสดชายโสดที่ต้องการแต่งงานมากมายให้เลือก

พร้อมทั้งประวัติชีวิตของแต่ละคนไว้สำหรับประกอบการตัดสินใจ เริ่มตั้งแต่ประวัติการศึกษา หน้าที่การงาน วรรณะ ศาสนา ประวัติครอบครัว และอาชีพของพ่อแม่ หลังจากที่พ่อแม่ของหนุ่มสาวเลือกคนที่ถูกใจแล้วก็จะเป็นขั้นตอนของการนัดเจอพูดคุย หากหนุ่มสาวพูดคุยแล้วถูกใจกันก็เป็นอันตกลงปลงใจ แต่หากนัดคุยกันแล้วไม่ถูกใจ ก็เลือกหาคนใหม่แทน

 

การแต่งงานแบบคลุมถุงชนของอินเดีย ต่อ

 

การแต่งงานแบบคลุมถุงชนของอินเดีย หลายๆ ครอบครัวเมื่อเจอคนที่ถูกใจแล้วอาจจะยังไม่ได้เริ่มจัดงานแต่งงานในทันที แต่จะ สืบประวัติของอีกครอบครัว ก่อนว่าตรงตามโปรไฟล์ที่นายหน้าระบุไว้หรือไม่ หนุ่มสาวมีนิสัยใจคอเป็นอย่างไร มีประวัติเสื่อมเสียอะไรไหม ครอบครัวของอีกฝ่ายเป็นอย่างไร อาจจะเป็นการสอบถามจากคนรู้จัก หรือแม้กระทั่งจ้างนักสืบ บริษัทนักสืบกลายเป็นหนึ่งธุรกิจที่ผู้คนเลือกใช้บริการในการตรวจสอบประวัติก่อนแต่งงาน แต่ละบริษัทก็จะมีแพ็คเกจหลากหลายให้เลือก สามารถสืบได้แม้กระทั่งทรัพย์สมบัติว่าอีกฝ่ายมีฐานะตรงตามที่กล่าวอ้างหรือไม่

 

ถึงจะเป็นการคลุมถุงชน แต่ครอบครัวก็สืบละเอียด

 

นอกจากจะมีการจ้างนักสืบเพื่อตรวจสอบประวัติแล้ว ยังมีการจ้างหมอดูเพื่อดูความเข้ากันของดวงชะตา เป็นการสร้างความมั่นใจว่าหนุ่มสาวมีความเหมาะสมในทุกๆ ด้านและจะสามารถครองรักกันไปได้จนตลอดรอดฝั่ง หากเจอคนที่ถูกใจแล้ว แต่ ดวงชะตามีความไม่สมพงษ์กัน ก็ถือเป็นเรื่องน่าหนักใจ และอาจต้องมีการทบทวนความเหมาะสมใหม่อีกครั้งหนึ่ง

จะเห็นได้ว่าการแต่งงานของคนอินเดียไม่ได้เป็นเรื่องราวของคนแค่สองคน แต่เป็นเรื่องราวของสองครอบครัวที่ต้องมีความเหมาะสมถูกใจกันในทุกๆ ด้าน ต้องมีบุคคลหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ นายหน้า นักสืบ หรือแม้แต่หมอดู

สำหรับคนอินเดียการแต่งงานถือเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญของครอบครัว เพราะจะเป็นงานที่แสดงถึงฐานะทางสังคมของครอบครัวนั้น ยิ่งจัดงานยิ่งใหญ่ มีแขกมาร่วมงานเยอะ ยิ่งถือเป็นหน้าตา เป็นความภาคภูมิใจ

อาจเพราะเหตุนี้จึงทำให้คู่ที่แต่งงานแบบคลุมถุงชนมีอัตราการหย่าร้างน้อยกว่าคู่ที่แต่งงานจากความรัก เพราะการหย่าเหมือนเป็นการทำให้สองครอบครัวต้องเสียหน้า การตัดสินใจบางครั้งไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนแค่สองคน แต่มีหลายบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง

จากที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าคนอินเดียทุกคนจะมีแนวคิดแบบนี้ หลายคู่หลายครอบครัวก็อาจมีแนวคิดทางด้านการแต่งงานที่แตกต่างออกไป การ คลุมถุงชน อาจเป็นเรื่องล้าสมัยในสายตาของหลายคน แต่หากพูดถึงองค์รวมแล้วนั้น อัตราการแต่งงานแบบคลุมถุงชนก็ยังมีเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่าอยู่ดี

 

ความรู้เบื้องต้นก่อนเป็นสะใภ้อินเดีย

 

“เบื้องต้นเราต้องบอกว่า อินเดียถ้าเปรียบเหมือนไทยก็เป็นวัฒนธรรมตามพื้นที่แต่ละพื้นที่ไป ถ้าเป็นภาคเหนืออย่างเชียงใหม่เขาก็จะแต่งงานแบบเหนือแบบล้านนาหรือแบบแม้ว ซึ่งอินเดียก็คล้ายกัน แต่การแต่งงานที่ฮิตกันมากที่สุดของอินเดียมีอยู่ 2 พิธีกรรม คือ แต่งงานแบบศาสนาซิกข์ และ แต่งงานแบบศาสนาฮินดู ซึ่งทั้งสองศาสนามีดีเทลการแต่งงานที่แตกต่างกันพอสมควร แล้วแต่ละบ้านว่านับถือศาสนาอะไร

อันนี้เราก็พูดถึงภาพรวมของการแต่งงานแบบอินเดียว่ามันแตกออกมาเป็น 2 แขนงอย่างที่บอกไป ซึ่งสาแต่งแบบซิกข์ ซึ่งแต่งแบบซิกข์ก็จะมีดีเทลไม่ค่อยเยอะ ถ้าแต่งแบบฮินดูก็จะมีดีเทลค่อนข้างเยอะเพราะเขาต้องทำตามเวลาทุกอย่างที่บัณฑิต(นักบวชของฮินดู)แจ้งไว้ทุกอย่างต้องต่อเวลาหมดเลยตั้งแต่ออกจากห้อง เดินรอบกองไฟ เวลานี้ ถ้าได้เวลาฤกษ์ตอนตี 5 เราก็ต้องตื่นตั้งแต่เช้าเพื่อให้ทันเวลาตี 5 ทีนี้เราข้ามไปเพราะเราไม่ได้แต่งแบบฮินดู เราเลือกแต่งแบบซิกข์แต่จริง ๆ ที่บ้านนับถือทั้งแบบฮินดูกับซิกข์นั้นแหละเพราะเรื่องการนับถือคล้าย ๆ กัน“

 

พิธีแต่งงานฮินดู การแต่งงานของคนอินเดีย ที่นับถือศาสนาฮินดู

 

การแต่งงานแบบคลุมถุงชนของอินเดีย แต่งงานแบบศาสนาฮินดู คือ การแต่งงานของชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งด้วยความที่เป็นพิธีแต่งงานทางศาสนา เพราะฉะนั้นขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะเชื่อมโยงกับความเชื่อและประเพณีทางศาสนา

พิธีแต่งงานของชาวฮินดูมีความน่าตื่นตาตื่นใจเพราะถือว่าเป็นงานใหญ่พอสมควร โดยจะเน้นจัดงานกันในช่วงฤดูหนาวประมาณต้นเดือนตุลาคมไปจนถึงปลายเดือนมีนาคมที่ถือว่าเป็นฤกษ์งามยามดีที่สุดของการแต่งงาน พิธีแต่งงานของฮินดูนั้นถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะตามคติของพราหมณ์แล้ว

การแต่งงานเป็นขั้นที่ 2 ของชีวิตต่อจากชีวิตเยาว์วัย เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการครองคู่และทำให้ชีวิตครอบครัวมั่นคงมากขึ้น การแต่งงาน ฮินดูจึงต้องมีความพิถีพิถันและรายละเอียดก็ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

 

บทความแนะนำ